งานครั้งที่ 2

1.CMS ย่อมาจากคำว่าอะไร มีชื่อที่แปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไร

ตอบ  CMS ย่อมาจาก Content Management System ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์

2.หน้าที่ของ CMS คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

ตอบ  หน้าที่ของ CMS คือ เป็นระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป

มีประโยชน์ คือ ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการทำเว็บไซต์ เพียงแค่เคยพิมพ์ หรือเคยโพสข้อความในอินเทอร์เนต ก็สามารถมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองได้

3.CMS ที่มีชื่อเสียง นอกจาก Joomla แล้วมีอะไรอีก ให้บอกมา 3 ชื่อ

ตอบ  Macromedia  Dreamweaver ,  Macromedia  Flash ,  Microsoft  FrontPage  

4.Joomla มีข้อดีแตกต่างจาก CMS ประเภทอื่นๆ อย่างไรบ้าง

ตอบ 1.ติดตั้งง่ายได้เว็บแบบมืออาชีพ

2.ควบคุมหน้าตาเว็บไซด์ด้วยเทมเพลต

3.ติดตั้งง่ายได้เว็บแบบมืออาชีพ

4.สร้างและจัดการเนื้อหาได้ง่าย

5.รองรับกับการทำงานหลายๆ คนพร้อมกัน

6.เสถียร ปลอดภัย

7.ไม่ต้องยึดติดกับคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์ใดๆ

8.มีสังคมออนไลน์ที่มีข้อมูลช่วยเหลือจำนวนมาก

9.สมบูรณ์ด้วยโปรแกรมเสริมที่หลากหลาย

5.Joomla เวอร์ชันล่าสุด คือเวอร์ชันอะไร

ตอบ  1.5.22

6.Appserv คืออะไร มีหน้าที่และประโยชน์อย่างไร

ตอบ  AppServ คือโปรแกรมที่รวบรวมเอา Open Source Software หลายๆ อย่างมารวมกัน
โดยมี Package หลักดังนี้
         – Apache
         – PHP
         – MySQL
         – phpMyAdmin

เพื่อลดขั้นตอนการติดตั้งที่แสนจะยุ่งยากและใช้เวลานาน โดยผู้ใช้งานเพียงดับเบิ้ลคลิก setup ภายในเวลา 1 นาที ทุกอย่างก็ติดตั้งเสร็จสมบูรณ์ระบบต่างๆ ก็พร้อมที่จะทำงานได้ทันทีทั้ง Web Server, Database Server เหตุผลนี้จึงเป็นเหตุผลหลักที่หลายๆ คนทั่วโลก ได้เลือกใช้โปรแกรม AppServ แทนการที่จะต้องมาติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ที่ละส่วน
 

7.ทำไมเราต้องใช้ Appserv ควบคู่ไปกับการทำเว็บด้วย Joomla

ตอบ  การใช้Appserv เป็นตัวapplicationที่สร้างเว็บไซต์ในwindowและเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเว็บ ถ้าเราไม่ติดตั้ง Appserv  ก็จะไม่สามารถสร้างเว็บไซต์ใจเครื่องเราได้                                                                                                                                                                                                                                                                    

8.หาเว็บไซต์ที่สร้างด้วย Joomla มาให้ครูอย่างน้อย 3 เว็บนะ (เว็บแรก ก็เว็บโรงเรียนเราไง)

ตอบ 

CMSและJoomla

ความหมายของ Content Management

System (CMS)

ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์(Content Management System : CMS) คือ ระบบที่พัฒนา คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา(Development) และบริหาร(Management)เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และเงินทอง ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลไซต์  

โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะนำเอา ภาษาสคริปต์(Script languages) ต่างๆมาใช้ เพื่อให้วิธีการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น PHP, Perl, ASP, Python หรือภาษาอื่นๆ(แล้วแต่ความถนัดของผู้พัฒนา) ซึ่งมักต้องใช้ควบคู่กันกับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์(เช่น Apache) และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์(เช่น MySQL)

ลักษณะเด่นของ CMS ก็คือ มีส่วนของ Administration panel(เมนูผู้ควบคุมระบบ) ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่างๆในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว และเน้นที่การ จัดการระบบผ่านเว็บ(Web interface) ในลักษณะรูปแบบของ ระบบเว็บท่า(Portal Systems) โดยตัวอย่างของฟังก์ชันการทำงาน ได้แก่ การนำเสนอบทความ(Articles), เว็บไดเรคทอรี(Web directory), เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ(News), หัวข้อข่าว(Headline), รายงานสภาพดินฟ้าอากาศ(Weather), ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ(Informations), ถาม/ตอบปัญหา(FAQs), ห้องสนทนา(Chat), กระดานข่าว(Forums), การจัดการไฟล์ในส่วนดาวน์โหลด(Downloads), แบบสอบถาม(Polls), ข้อมูลสถิติต่างๆ(Statistics) และส่วนอื่นๆอีกมากมาย ที่สามารถเพิ่มเติม ดัดแปลง แก้ไขแล้วประยุกต์นำมาใช้งานให้เหมาะสมตามแต่รูปแบบและประเภทของเว็บไซต์นั้นๆ

การประยุกต์ใช้ CMS

ระบบ CMS สามารถนำมาประยุกต์ในงานต่างๆ หลากหลาย ตัวอย่างการนำซอฟต์แวร์ CMS มาประยุกต์ใช้งาน อาทิเช่น
>> การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สถาบันการศึกษา ธุรกิจบันเทิง หนังสือพิมพ์ การเงิน การธนาคาร หุ้นและการลงทุน อสังหาริมทรัพย์ งานบุคคล งานประมูล สถานที่ท่องเที่ยว งานให้บริการลูกค้า
>> การนำ CMS มาใช้ในหน่วยงานของรัฐ อาทิเช่น งานข่าว งานประชาสัมพันธ์ การนำเสนองานต่างๆขององค์กร
>> การใช้ CMS สร้างไซต์ ส่วนตัว ชมรม สมาคม สมาพันธ์ โดยวิธีการแบ่งงานกันทำ เป็นส่วนๆ ทำให้เกิดความสามัคคี ทำให้มีการทำงานเป็นทีมเวิร์คมากยิ่งขึ้น
>> การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ SME โดยเฉพาะสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์หรือ OTOP กำลังได้รับความนิยมสูง
>> การนำ CMS มาใช้แทนโปรแกรมลิขสิทธิ์ อื่นๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และง่ายต่อการพัฒนา
>> การใช้ CMS ทำเป็น Intranet Web Site สร้างเว็บไซต์ใช้ภายในองค์กร
อ้างอิง : http://www.mindphp.com/modules.php?name=News&file=article&sid=51

Joomla คืออะไร

joomla เป็น CMS ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ  เพราะมีระบบการจัดการเนื้อหาที่มีรูปแบบสากล การปรับแต่งหน้าตาของเว็บไซต์ทำได้ง่าย เพราะ joomla ถูกออกแบบมาให้รองรับกับเทคโนโลยีการ ออกแบบเว็บไซต์ สมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการรองรับ Flash หรือ GIF Animation นอกจากนี้คุณยังสามารถ Download template ได้อย่างมากมายมีทั้งแบบที่สามารถนำมาใช้งานได้ฟรี (โดยให้เครดิตผู้สร้างนิดหน่อย เช่น ไม่ลบชื่อทีมพัฒนา template นั้นออกจาก template เป็นต้น) หรือหากต้องการ template ที่มีประสิทธิภาพ และมีความสวยงาม ก็สามารถหาซื้อมาใช้ได้ เพราะมีเว็บไซต์ที่ให้บริการจัดทำ template ของ joomla อยู่มากมาย จุดเด่นของ joomla อีกจุดหนึ่งก็คือมี Extension จำนวนมากให้เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้งาน เช่น component, module, Plugin มีทั้งแบบฟรี และแบบต้องชำระเงิน สำหรับเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ joomla คือ http://www.joomla.org เป็นศูนย์รวมข่าวสารการ Update joomla และคุณสามารถ download joomla และ extension ต่าง ๆ ได้จากที่นี่

joomla มีการ Update อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เรามั่นใจได้ว่าการ ออกแบบเว็บไซต์ ด้วย CMS joomla จะมีความปลอดภัย ซึ่งปัจจุบัน (ตุลาคม 2553) เป็นรุ่น 1.5.21 และที่สำคัญที่สุด joomla รองรับภาษาไทย 100% เพราะมีทีมงานที่คอยดูแลเรื่องภาษา ทำให้เราไม่ต้องมากังวลกับการใช้งานภาษาไทยว่าจะผิดเพี้ยนในส่วนใดหรือไม่ และในขณะนี้ Team ผู้พัฒนา joomla กำลังร่วมกันพัฒนา joomla รุ่นใหม่ คือ joomla 1.6 ซึ่งในขณะนี้ก็ใกล้จะได้ใช้งานกันในเวลาอันใกล้นี้

สิ่งที่ควรพิจารณาเป็นอันดับต้น ๆ สำหรับการใช้งาน joomla

สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน joomla แล้วเกิดปัญหานั้นส่วนใหญ่ ไม่ได้มาจากตัวของ joomla แต่มักจะมีปัญหากับ PHP, MySql, เวอร์ชั่นเก่า ทำให้เกิดปัญหาได้ สำหรับการตรวจเช็คนั้นไม่ยากเลย เพราะในตอนที่ดำเนินการติดตั้งนั้น จะมีหน้าเว็บเพจที่ตรวจสอบว่าสามารถติดตั้ง หรือรองรับได้หรือไม่ หากไม่รองรับให้หาตัวใหม่มาลง  เพราะฉะนั้นตอนติดตั้งมักไม่ค่อยเกิดปัญหา แต่จะเกิดปัญหาตอนที่เราติดตั้งตัวเสริมต่าง ๆ (Extension) ซึ่งบางตัวถึงขั้นไม่สามารถใช้งานได้เลย เพราะติดตั้งไปก็จะ error หรือติดตั้งผ่าน แต่พอใช้งานจริงก็จะมีปัญหา สำหรับคุณที่ต้องการติดตั้งบนโฮสติ้ง ก่อนจะใช้บริการก็ควรเช็ครายละเอียดของโฮสติ้งให้ดีว่า PHP, MySql นั้นเวอร์ชั่นใหม่หรือไม่ จะได้เกิดปัญหาน้อยลง

อ้างอิง : http://www.ninetechno.com/a/joomla/54-Joomla%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลและความรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลและความรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

1. อินเตอร์เน็ตทำงานอย่างไร

ตอบ การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมาก

2. เพราะเหตุใดอินเตอร์เน็ตจึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน

ตอบ รวดเร็ว มีความสะดวกสบาย ประหยัดเวลา

3. ถ้าต้องกดารเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนักเรียนต้องทำอย่างไร

ตอบ ใช้โมเด็มเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์เข้ากับสายโทรศัพท์

4. การค้นหาข้อมูลวิธีใดดีที่สุด เพราะอะไร

ตอบ ค้นหาผ่านทางอินเตอร์เน็ต เพราะสะดวดและรวดเร็ว

5. การค้นหาข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์รวดเร็วมีเทคนิคอย่างไร

ตอบ 1.บีบประเด็ดให้แคบลง 2.การใช้คำที่ใกล้เคียง 3.การใช้คำหลัก4.หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข 5.ใช้เครื่องหมายบวกและลบช่วยค้นหาข้อมูล

6. ถ้าต้องการค้นหาบทความที่มีคนเขียนไว้เพื่อเผยแพร่ นักเรียนจะต้องเลือกคลิกที่คำสั่งใด

ตอบ คำสั่งค้นหา

7. เพราะเหตุใดทุกคนจึงต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต

ตอบ เพราะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมากเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานผ่านระบบอินเตอรเน็ตและส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่ประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้ผู้อื่นอยู่เสมอ

8. การติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นด้วยการสนทนาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตควรจะปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะเหมาะสม

ตอบ ควรใช้ถ้อยคำที่สุภาพ

9. การคัดลอกผลงานของผู้อื่นบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีผลเสียอย่างไร

 ตอบ เป็นการละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น

10. นักเรียนมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้ผู้อื่นใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมได้อย่างไรบ้าง

ตอบ ปฏิบัติตามกฎ กติกา และมารยาทตามอินเตอร์เน็ตเป็นตัวอย่งที่ดีให้แก่ผู้อื่น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองาน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองาน

1. เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะมีการใช้งานเหมือนและแตกต่างจากเครื่องฉายภาพทึบแสงอย่างไร

ตอบ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะเป็นเครื่องฉายภาพชนิดโปร่งแสง ส่วนเครื่องฉายภาพทึบแสงเป็นเครื่องฉายภาพระบบสะท้อน

2. อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศใดนิยมใช้มากที่สุด เพราะเหตุใด

ตอบ คอมพิวเตอร์ เพราะมีความสะดวกรวดเร็วนำการทำงานและการนำเสนองาน

3. ถ้าต้องการนำเสนองานด้วยเครื่องฉายภาพทึบแสงนักเรียนต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ตอบ เตรียมเครื่องโพรเจกเตอร์ หรือจอภาพคอมพิวเตอร์

4. การนำเสนองานประเภทสาธิตการทำอาหารควรใช้ไมโครโฟนประเภทใด

 เพราะเหตุใด ตอบ ไมโครโฟนแบบห้อยคอ เพราะสะดวกในการนำเสนอ

5. ซอฟต์แวร์ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยนต์สามานำเสนองานกราฟที่สร้างจากซอฟแวร์ ไมโครซอฟต์เอกเซลได้หรือไม่ อย่างไร

 ตอบ ได้ สามารถนำงานจากซอฟแวร์ไมโครซอฟต์เอกเซลมาวางไว้ใส่ใน ซอฟต์แวร์ไมโครซอฟต์เพาเวอร์ พอยนต์ได้

6. ถ้าต้องการนำเสนองานในที่ที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ นักเรียนจะเลือกนำเสนองานโดยวิธีใด เพราะเหตุใด

ตอบ ใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เพราะสามารถฉายในห้องที่มีแสงสว่างได้

7. ข้อมูลที่เหมาะสมต่อการนำมาใช้นำเสนองานควรมีลักษณะย่างไร

ตอบ มีทั้งภาพ ข้อความ และเสียง ข้อมูลถูกต้อง

8. เพราะเหตุใดต้องทำการวิเคราะห์ผู้ฟังก่นเตรียมนำเสนองาน

ตอบ ทำให้ผลงานที่นำเสนอถูกต้องครบถ้วน

9. ถ้าต้องการนำเสนอสไลด์การสร้างชิ้นงาน ควรเลือกคำสั่งใดเพื่อกำหนดรูปแบบสไลด์ใน ซอฟต์แวร์ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยนต์

ตอบ คำสั่งออกแบบ

10. ภาพเคลื่อนไหวที่สามารถนำมาใช้กับซอฟต์แวร์ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยนต์ต้องมีลักษณะ อย่างไร

 ตอบ ต้องเป็นประเภทไฟล์ AVI, Quick Time, MPEG

ทฤษฎีอลวน

ทฤษฎีอลวน

ทฤษฎีอลวน

องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง

งานที่

2 องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์ต่อพ่วงองค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

 

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

ยกตัวอย่าง เช่น เม้าส์

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์เริ่มจากการป้อนข้อมูลผ่านทางหน่วยรับเข้าซึ่งข้อมูลที่ป้อนเข้าไปนี้จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าในรูปแบบของตัวเลขในระบบตัวเลขฐานสองเป็นคำสั่งในการติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์หรือสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามต้องการ จากนั้นคำสั่งจะถูกส่งไปยังหน่วยประมวลผลกลางเพื่อประมวลผลตามคำสั่ง ในระหว่างการประมวลผลหากมีคำสั่งให้นำผลลัพธ์จากการประมวลผลไปจัดเก็บในหน่วยความจำหลักประเภทแรม ผลลัพธ์ดังกล่าวจะถูกส่งไปยังหน่วยความจำหลักประเภทแรม พร้อมทั้งค่าที่อ้างอิงถึงตำแหน่งในการจัดเก็บในขณะเดียวกันอาจมีคำสั่งให้นำผลลัพธ์จากการประมวลผลไปแสดงยังหน่วยส่งออกได้ด้วยโดยการส่งผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลไปยังหน่วยต่างๆภายในคอมพิวเตอร์จะผ่านทางระบบบัส
หน่วยรับข้อมูล
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากภายนอกเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่เชื่อมโยจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์สู่เครื่องคอมพิวเตอร์   แป้นพิมพ์ เป็นต้น

ส่วนควบคุม เป็นส่วนที่สร้างสัญญาณและส่งสัญญาณไปควบคุมการทำงานของส่วนประกอบต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์

ส่วนที่คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล ทำหน้าที่คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูลโดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ และตรรกศาสตร์

หน่วยประมวลผลกลาง
เป็นส่วยที่ทำหน้าที่ควบคุมและประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 2ส่วนคือ

หน่วยความจำแบบถาวร

หน่วยความจำหลัก
เป็นหัวใจของการทำงานในรูปแบบอัตโนมัติ มีหน้าที่เก็บข้อมูลต่างๆ แบ่งออกเป็น 2ประเภทคือ
หน่วยความจำชั่วคราว

คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์

หน่วยความจำสำรอง
แบ่งออกได้ 5ประเภทได้แก่1.

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วในการประมวลผลสูง2. สุด มีราคาแพง3. มาก มีขนาดใหญ4. 5.

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะการทำง6. านสูง7. แต่ไม่เน้นความเร็วในการคำนวณเป็นหลัก แต่มีความเร็วสูง8. นิยมใช้ในอง9. ค์กรใหญ10. ่ๆ 11.

15.

มินิคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้ง12. านในอง13. ค์กร ขนาดกลาง14. ไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเพราะประสิทธิภาพสูง16. ราคาไม่แพง17. จึง18. เหมาะสำหรับใช้ส่วนตัวที่บ้าน โรง19. เรียน เป็นต้น 20.

คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลประจำวันได้ เล่นเกม ฟัง21. เพลง22. ได้ เป็นต้น เช่น ไอโฟน บีบี เป็นต้น  

อุปกรณ์ต่อพ่วง

1.

เครื่องพิมพ์ชนิดต่าง ๆ (Printer)
เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อทำหน้าที่ในการแปลผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปของอักขระหรือรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษนับเป็นอุปกรณ์แสดลงผลที่นิยมใช้เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท1.

เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer)
2.
เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer)
3.
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)
4.
พล็อตเตอร์ (plotter)2.

ชนิดของสแกนเนอร์และความสามารถในการทำงานของสแกนเนอร์แบ่งออกได้เป็น

เครื่องสแกนภาพ (Scanner)
สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของอนาล็อกเป็นดิจิตอลซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถแสดงเรียบเรียงเก็บรักษาและผลิตออกมาได้ภาพนั่นอาจจะเป็นรูปถ่าย ข้อความ ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติสามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆ  ได้ดังนี้o

ในงo านเกี่ยว กับงo านศิลปะหรือภาพถ่ายในเอกสาร o

บันทึกข้อมูล ลงo ในเวิร์ดโปรเซสเซอร์ o

แฟ็กเอกสาร ภายใต้ดาต้าเบส และ เวิร์ดโปรเซสเซอร์ o

เพิ่มเติมภาพ และจินตนาการต่างo ๆ ลงo ในในผลิตภัณฑ์สื่อโฆษณาต่างo ๆ โดยพื้นฐานการทำงo านของo สแกนเนอร์ 1. Flatbed scanners

2. Transparency and slide scanners ScanMaker

ซึ่งใช้สแกนภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์ต่าง ๆ สแกนเนอร์ชนิดนี้มีพื้นผิวแก้วบนโลหะที่เป็นตัวสแกน เช่น ScanMader IIIซึ่งถูกใช้สแกนโลหะโปร่ง เช่นฟิล์มและสไลด์ 

สิ่งที่จำเป็น สำหรับการสแกนภาพ  มีดังนี้

 

o

SCSI และสาย SCSI หรือ Parallel Port สำหรับต่อจากสแกนเนอร์ ไปยังo เครื่องo คอมพิวเตอร์ o

ซอฟต์แวร์ สำหรับการสแกนภาพซึ่งo ทำหน้าที่ควบคุมการทำงo านของo สแกนเนอร์ให้สแกนภาพตามที่ กำหนด o

สแกนเอกสาร เก็บไว้เป็นไฟล์ที่นำมาแก้ไขได้อาจต้องo มีซอฟแวร์ที่สนับ สนุนด้าน OCR o

จอภาพที่ เหมาะสมสำหรับการแสดงo ภาพที่สแกนมาจากสแกนเนอร์ o

เครื่องo มือ สำหรับแสดงo พิมพ์ภาพที่สแกน เช่น เครื่องo พิมพ์แบบเลเซอร์ หรือสไลด์โปรเจคเตอร์ 3.

โมเด็ม(Modem)เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดายโมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของเราสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆได้ทั่วโลกโมเด็มจะสามารถทำงานของเราสามารสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆได้ทั่วโลกโมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วย การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณ ดิจิตอล

ความ สามารถของโมเด็ม เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่างๆได้หลายอย่าง เช่น

(digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณ อนาลอก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์ 

o

ใช้บริการ ต่างo ๆ จากที่บ้าน เช่นสั่งo ซื้อของo ผ่านอินเตอร์เน็ต o

ท่องo ไปบน อินเตอร์เน็ต o

เข้าถึงo บริการออนไลน์ได้ o

ดาวน์โหลด ข้อมูล , รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้ o

ส่งo รับโทรสาร o

ตอบรับ โทรศัพท์

ระบบสารสนเทศ (Information system)

ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ  การวางแผน  การบริหาร การควบคุม  การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม  ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร  ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input)  การประมวลผล (Processing)  และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output)  ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า  ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system –CBIS) (Laudon & Laudon, 2001)

แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม

ระบบสารสนเทศ  หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลเป็นสารสนเทศ และระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องอาศัยฐานข้อมูล  (CIS 105 — Survey of Computer Information Systems, n.d.)

ระบบสารสนเทศ  หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ (FAO Corporate Document Repository, 1998)  ระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย คน เครื่องจักรกล(machine)  และวิธีการในการเก็บข้อมูล   ประมวลผลข้อมูล  และเผยแพร่ข้อมูล ให้อยู่ในลักษณะของสารสนเทศของผู้ใช้ (Information system, 2005)

สรุป ได้ว่า ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง

Laudon & Laudon (2001)  ยังอธิบายว่าในมิติทางธุรกิจ ระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ช่วยแก้ปัญหาการจัดการขององค์กร ซึ่งถูกท้าทายจากสิ่งแวดล้อม  ดังนั้นการใช้ระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจองค์กร(Organzations)   การจัดการ (management)  และเทคโนโลยี (Technology)

ประเภทของระบบสารสนเทศ

ปัจจุบันจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น  และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ  กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน  ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป

(สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

ถ้าพิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร   จะแบ่งระบบสารสนเทศได้เป็น 4 ประเภท  ดังนี้ (Laudon & Laudon, 2001)

1.     ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems)   ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร เช่นใบเสร็จรับเงิน  รายการขาย  การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น  วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น

2.     ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems)  ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล   วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร

3.      ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management – level systems)  เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ   การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร

4.     ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system)   เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว  หลักการของระบบคือต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับความสามารถภายในที่องค์กรมี เช่นในอีก

5 ปีข้างหน้า องค์กรจะผลิตสินค้าใด

สุชาดา กีระนันทน์ (2541)และ Laudon & Laudon (2001) ได้แบ่งประเภทของระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน/ผู้บริหารระดับต่างๆไว้  ดังนี้

ประเภทของระบบสารสนเทศ

(สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

ประเภทของระบบสารสนเทศ

(Laudon & Laudon, 2001)

1. ระบบประมวลผลรายการ

(Transaction Processing Systems)

1.  Transaction Processing System – TPS
2. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ

(Office Automation Systems)

2. Knowledge Work -KWS  and office

Systems

3. ระบบงานสร้างความรู้

(Knowledge Work Systems)

4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

(Management Information Systems)

3. Management Information Systems – MIS
5. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

(Decision Support Systems)

4. Decision Support Systems – DSS
6. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง

(Executive Information Systems)

5. Executive Support  System – ESS

1.     ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems – TPS)  เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำ ทำการบันทึกจัดเก็บ  ประมวลผลรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน  โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานแทนการทำงานด้วยมือ  ทั้งนี้เพื่อที่จะทำการสรุปข้อมูลเพื่อสร้างเป็นสารสนเทศ  ระบบประมวลผลรายการนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้า ตัวอย่าง เช่น ระบบการจองบัตรโดยสารเครื่องบิน  ระบบการฝากถอนเงินอัตโนมัติ เป็นต้น  ในระบบต้องสร้างฐานข้อมูลที่จำเป็น  ระบบนี้มักจัดทำเพื่อสนองความต้องการของผู้บริหารระดับต้นเป็นส่วนใหญ่เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานประจำได้  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักจะอยู่ในรูปของ รายงานที่มีรายละเอียด  รายงานผลเบื้องต้น

2.     ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems- OAS)  เป็นระบบที่สนับสนุนงานในสำนักงาน หรืองานธุรการของหน่วยงาน ระบบจะประสานการทำงานของบุคลากรรวมทั้งกับบุคคลภายนอก หรือหน่วยงานอื่น  ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร โดยการใช้ซอฟท์แวร์ด้านการพิมพ์  การติดต่อผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  เป็นต้นผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของเอกสาร  กำหนดการ  สิ่งพิมพ์

3.     ระบบงานสร้างความรู้ (Knowledge Work Systems – KWS)  เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุน

บุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ  บริการใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน  หน่วยงานต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้โดยสะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา  ระบบต้องอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น  ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการจริงในธุรกิจ  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของ สิ่งประดิษฐ์  ตัวแบบ  รูปแบบ เป็นต้น

4.     ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems- MIS)  เป็นระบบสารสนเทศสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง  ใช้ในการวางแผน  การบริหารจัดการ และการควบคุม  ระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ในระบบประมวลผลรายการเข้าด้วยกัน  เพื่อประมวลและสร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการบริหารงาน  ตัวอย่าง เช่น ระบบบริหารงานบุคลากร  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของรายงานสรุป  รายงานของสิ่งผิดปกติ

5.     ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems – DSS)  เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหา หรือที่มีโครงสร้างหรือขั้นตอนในการหาคำตอบที่แน่นอนเพียงบางส่วน  ข้อมูลที่ใช้ต้องอาศัยทั้งข้อมูลภายในกิจการและภายนอกกิจการประกอบกัน  ระบบยังต้องสามารถเสนอทางเลือกให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสถานการณ์นั้น  หลัก การของระบบ สร้างขึ้นจากแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการตัดสินใจ โดยให้ผู้ใช้โต้ตอบโดยตรงกับระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณาได้ โดยอาศัยประสบการณ์ และ ความสามารถของผู้บริหารเอง  ผู้บริหารอาจกำหนด เงื่อนไขและทำการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ไปจนกระทั่งพบสถานการณ์ที่เหมาะสมที่สุด แล้วใช้เป็นสารสนเทศที่ช่วยตัดสินใจ  รูปแบบของผลลัพธ์ อาจจะอยู่ในรูปของ รายงานเฉพาะกิจ  รายงานการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ  การทำนาย หรือ พยากรณ์เหตุการณ์

6.     ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System – EIS)  เป็นระบบที่สร้างสารสนเทศเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งทำหน้าที่กำหนดแผนระยะยาวและเป้าหมายของกิจการ  สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงนี้จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลภายนอกกิจกรรมเป็นอย่างมาก   ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็นยุค Globalization  ข้อมูลระดับโลก แนวโน้มระดับสากลเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันของธุรกิจ  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของการพยากรณ์/การคาดการณ์

ถึงแม้ว่าระบบสารสนเทศจะมีหลายประเภท แต่องค์ประกอบที่จำเป็นของระบบสารสนเทศทุกประเภท ก็คือต้องประกอบด้วยกิจกรรม 3 อย่างตามที่ Laudon & Laudon (2001)ได้กล่าวไว้ คือ ระบบต้องมีการนำเข้าข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล และการแสดงผลลัพธ์ของข้อมูล

สุชาดา  กีระนันทน์ (2541) สรุปไว้ว่า การพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์กรนั้นเป็นสิ่งท้าทายผู้บริหารเป็นอย่างมาก  การที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นในหน่วยงานเป็นสิ่งที่ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบการพัฒนาระบบ ต้องร่วมกันตัดสินใจอย่างรอบคอบ  เพราะการนำระบบสารสนเทศมาใช้อาจจะกระทบต่อกระบวนการดำเนินงานและการบริหารที่เป็นอยู่  หรืออาจจะมีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

http://blog.eduzones.com/dena/4892

Hello world!

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!